ThaibizGermany |
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในเยอรมนี |
ในหลักการ เยอรมนีมีกฎหมายให้การคุ้มครองนักลงทุนต่างชาติอย่างเสมอภาคกับนักลงทุนเยอรมนี หากมีข้อพิพาททางกฎหมาย นักธุรกิจส่วนใหญ่สามารถพี่งพาระบบยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพของเยอรมนี อย่างไรก็ดี การทำความเข้าใจระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ก่อน ย่อมเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้า กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษี กฎหมายสิ่งแวดล้อม ที่กำลังถูกจับตามองในเยอรมนีในขณะนี้
"Mittelstand" ของเยอรมนี ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็น backbone ของเศรษฐกิจเยอรมนี ทำให้มีการเติบโตที่มั่นคงและผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจมาโดยตลอด หน่วยงานต่าง ๆ ของไทย กำลังให้ความสนใจต่อการพัฒนา SMEs ของเยอรมนี อีกทั้งในนิตยสารระดับโลกด้านเศรษฐกิจ อาทิ The Economist และ Financial Times ได้มีบทความเกี่ยวกับ SMEs ของเยอรมนีอย่างต่อเนื่อง โดยเยอรมนีได้รับการยอมรับให้เป็น model ที่ประสบความสำเร็จในด้านนี้
จุดแข็ง/ปัจจัยสำเร็จของ SME เยอรมนี อยู่ที่
ได้แก่ สถานประกอบการขนาดกลาง มีพนักงานไม่เกิน 500 คน และมีผลประกอบการไม่เกิน 50 ล้านยูโรต่อปี และสถานประกอบการขนาดย่อม มีพนักงานไม่เกิน 9 คน และมีผลประกอบการไม่เกิน 1 ล้านยูโรต่อปี อย่างไรก็ดี คำว่า Mittelstand ในภาษาเยอรมัน ยังครอบคลุมถึง mindset ของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเน้น ownership ความรับผิดชอบต่อพนักงานและฐานที่ตั้ง และการดำเนินยุทธศาสตร์ระยะยาว
มีจำนวนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.7 ของจำนวนบริษัททั้งหมดในเยอรมนี มีการสร้างงานร้อยละ 60.8 ของประเทศ และมีมูลค่าการผลิตคิดเป็นนร้อยละ 51.3 ของ GDP ส่วนใหญ่ เป็นธุรกิจครอบครัว กระจายในรัฐต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะรัฐทางใต้ Baden-Württemberg และ Bayern ทางตะวันตก ได้แก่ Nordrhein-Westfalen, Hessen, Rheinland-Pfalz โดยแม้ว่าบริษัทจะตั้งอยู่ในเมืองเล็ก ๆ แต่หลายบริษัทก็ถือเป็นบริษัทชั้นนำของโลก จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า "hidden champion"
สาขาธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การผลิตเครื่องไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน การผลิตสินค้าและบริการด้านอุตสาหกรรม โดยน่าสนใจว่า ได้มีการพัฒนา cluster ของอุตสาหกรรมตามพื้นที่ตั้ง อาทิ อุตสาหกรรมการผลิต cutlery อยู่ที่บริเวณเมือง Solingen
นับแต่การเริ่มต้นก่อตั้งบริษัท เยอรมนีมีข้อบังคับให้ทุกบริษัทต้องจดทะเบียนเป็นสมาชิกหอการค้าและอุตสาหกรรมในพื้นที่ (IHKs) โดยเสียค่าธรรมเนียมตามสัดส่วนผลประกอบการและการชำระภาษี
หอการค้าและอุตสาหกรรมท้องถิ่น จะให้บริการตอบแทนสมาชิก ตั้งแต่การให้คำแนะนำปรึกษาเพื่อก่อตั้งธุรกิจ การให้ความช่วยเหลือด้านการเขียนแผนสนับสนุนทางการเงิน การสร้างแรงงานฝีมือ รุ่นใหม่ภายใต้หลักสูตร dual system ไปจนถึงการประสานงานผ่านหอการค้าและอุตสาหกรรมเยอรมันในต่างประเทศ (AHK) เพื่อการขยายตลาดส่งออก
สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเยอรมนี (DIHK) มีบทบาทสำคัญในการประสานงานระดับนโยบายกับรัฐบาล และส่วนราชการ โดยตรวจสอบการกำหนดนโยบาย ร่วมวางแผนกลยุทธ์แบบองค์รวม การพัฒนาระบบการศึกษาสายอาชีพ (dual system) ที่เป็นหัวใจของการพัฒนาแรงงานฝีมือ รองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม การสำรวจวิจัยความเห็นด้านเศรษฐกิจ และตีพิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่เป็นประจำ (ราย 2-3เดือน) การทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานการวิจัย
ภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงเศรษฐกิจฯ สหพันธ์ฯ มีหน้าที่รับฟังสถานการณ์และประสานความต้องการของภาคเอกชน แล้วนำมากำหนดแผนงานระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน ลดอุปสรรคทางการทำงานของ SME
ปัจจุบัน จำนวนการจดทะเบียน SME ใหม่ ในเยอรมนี ลดลงเรื่อย ๆ โดยในปี 2555 ได้ลดลงประมาณร้อยละ 23.5 จากปีก่อนหน้า และจากการสำรวจสถิติผู้จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย มีเพียงร้อยละ 6 ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการ เกี่ยวกับเรื่องนี้ DIHK มีแนวทางแก้ไขปัญหาโดยจะเพิ่มการสนับสนุนในส่วนของ high-tech start-up และกระตุ้นแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ ทั้งในระดับโรงเรียน และอุดมศึกษา ตลอดจนหารือกับภาครัฐเกี่ยวกับแนวทางการลดทอนกระบวนการทางราชการที่ซับซ้อน
ประกอบด้วย
นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่นของสหพันธ์ฯ โดยเฉพาะรัฐ Baden-Württemberg รัฐบาวาเรีย ฯลฯ รวมทั้งสมาชิกรัฐสภา และหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของสหพันธ์ฯ ให้ความสำคัญที่จะผลักดันให้ SMEs เยอรมนี ออกไปหาพันธมิตรทางธุรกิจในเอเชียและอาเซียน เนื่องจากที่ผ่านมา ธุรกิจของสหพันธ์ฯ กับประเทศในเอเชีย/อาเซียน จะถูกครอบครองโดยบริษัทขนาดใหญ่ของสหพันธ์ฯ ที่มีเครือข่ายและฝังรากในภูมิภาคเป็นเวลาหลายสิบปี ในขณะที่ SMEs จะไม่มีข้อมูลและเครือข่ายที่เพียงพอที่จะทำให้ตระหนักถึงศักยภาพของตลาดในเอเชีย/อาเซียน มีผลให้ SMEs เยอรมนี ยังไม่สามารถ reach out ไปยังธุรกิจนอกยุโรปได้มากนัก
ประเทศไทยน่าจะใช้โอกาสที่สหพันธ์ฯ มีนโยบายส่งเสริมธุรกิจของ SMEs กับต่างประเทศ เชิญชวนให้ SMEs เยอรมนี เดินทางไปศึกษาตลาดในประเทศไทย โดยใช้โอกาสของการจัดงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ ในสาขาอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ การจัดกิจกรรม match-making กับ SMEs เยอรมนี และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการพัฒนา SMEs ระหว่างสถาบันพัฒนา SMEs ของไทย กับหน่วยงานของเยอรมนี
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
เมษายน 2557
ที่มา http://www.mfa.go.th/business/th/articles/88/45845-นโยบาย-SMEs-ของเยอรมนี.html